 บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น |
|
|
 |
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี" |
|
|
ชัยมงคลคาถา “เยธัมมาฯ” ว่าด้วย “อุทกภัย” (2) (คน ป่า เขื่อน แม่น้ำ ลำคลอง ถนน) |
อาศัยหลักคิดของคาถา
"เยธัมมาฯ" ที่ว่าด้วย ธรรมใดเกิดแก่เหตุ จึงสามารถฟันธงลงไปว่า ปัญหาที่เกี่ยวกับอุทกภัยที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้แท้จริงนั้นมี
"ราก" มาจากโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมในระบบใหญ่ที่ครอบงำทั้งประเทศอยู่ในขณะนี้
ซึ่งผมได้พูดถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญทั้งในด้านวิสัยทัศน์ (Visionary) และกระบวนทัศน์ (Mission) ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ประเทศไทยได้พัฒนาภายใต้กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
ฯ ของชาติฉบับที่ 1 โดยการนำของอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ในสมัย จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นช่วงเริ่มต้นของสงครามเวียดนาม (2507-2518) อันเป็นผลพวงมาจากคาถา "เยธัมมาฯ" ที่ว่าด้วย "ธรรมใดเกิดแก่เหตุฯ" การแผ่ขยายอิทธิพลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของสหรัฐฯเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก็ลุกเป็นไฟกันไปทั่วภูมิภาคครับ ผมเรียกปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น "พาราดาร์มชิพ" ครั้งสำคัญของประเทศ ส่งผลให้เกิดวิกฤติการณ์น้ำท่วมซ้ำซากในปัจจุบัน
เพราะการพัฒนาได้ทำลายสมดุลของทรัพยากรทางธรรมชาติอย่าง "ขุดรากถอนโคน" ในทุกมิติ มีการประมาณการณ์คร่าว ๆ ว่า วิกฤติการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้มีอาคารบ้านเรือนได้รับผลกระทบไม่น้อยกว่า
1,210,968 ครัวเรือน คิดเป็นประชากรไม่น้อยกว่า 3,774,789 ราย ก่อให้เกิดความเสียหายรวมแล้วไม่ต่ำกว่า
1 แสนล้านบาทครับ
จากคาถา "เยธัมมาฯ" ของผม ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงน่าจะมาจากการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบแบบแผนและไร้ทิศทางของชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่ อันเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมในรูปแบบใหม่ ตลอดระยะเวลากว่า 4
ทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของชุมชนเมืองเป็นผลให้มีการปลูกสร้าง
อาคาร บ้านเรือนเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ คุณกานต์
ตระกูลฮุน ผู้จัดการใหญ่เอสซีจีได้กล่าวในงาน Sustainable Development
Symposium 2010 ในตอนหนึ่งว่าด้วย Social Movement ว่าในอีก
40 ปีข้างหน้า (2050) ประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.1 พันล้านคน ส่วนใหญ่ (98%)
มาจากประเทศกำลังพัฒนา และสภาพเมืองจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (Double
Urbanization) จากการขยายตัวอย่างไร้ระเบียบแบบก้าวกระโดดดังกล่าวนี้
เป็นผลให้โครงข่ายดั้งเดิมของแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง อันเป็น "ของดี มีอยู่" กลับถูกถมทำลาย ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างที่เคยเป็นมาเท่าที่ควร หากว่ากันตามหลักการพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ
"ทุนนิยม" ที่ครอบงำโลกอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว
สิ่งใดที่ไม่ใช้ประโยชน์ก็จะถูกละเลย จึงเป็นผลให้เครือข่ายแม่น้ำ ลำคลอง รวมไปถึงระบบการระบายน้ำทางธรรมชาติของคนไทยในอดีตไม่ได้รับการพัฒนา
มิหนำซ้ำยังไม่ได้รับการดูแล ทะนุบำรุงรักษา โดยการขุดลอกร่องน้ำที่ตื้นเขิน เป็นผลให้ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมลงไปทุกขณะ
อีกทั้งบรรดานักวางผังภูมิภาค,นักวางผังเมือง ตลอดจนนักเศรษฐศาสตร์ที่วางแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเรากลับมองไม่เห็นคุณค่าของเครือข่ายแม่น้ำ
ลำคลอง หนองบึงอันเป็น "ของดีมีอยู่" ตลอดจนไม่สามารถเชื่อมโยงกับแนวทางในการพัฒนาชุมชนในสังคมยุคใหม่ได้
ในเชิงยุทธศาสตร์ของการพัฒนาชุมชนทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่ได้นำไปสู่
การตัดถนนใหม่และการเพิ่มปริมาณเส้นทางเดินรถใหม่ ๆ ที่มีมากขึ้น มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการขยายพื้นที่ของชุมชน
ย่อมทำให้พื้นที่ราบลุ่มเดิมสำหรับการรองรับน้ำและการระบายน้ำลดลงอย่างมากในเวลาเดียวกัน
นอกจากนั้นคงต้องยอมรับกันเสียทีครับว่า "โครงข่ายถนน" คือ ระบบการตัดแบ่งพื้นที่
เป็นขนาดเล็ก ๆ จำนวนมากมาย เป็นการจำกัดประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายของปริมาณน้ำจำนวนมาก
ดังนั้นวิกฤติการณ์น้ำท่วมซ้ำซากแบบฉับพลันในบางพื้นที่น่าจะเกิดขึ้นจากเงื่อนไขดังกล่าวนี้
เช่น วิกฤติการณ์น้ำท่วมฉับพลันภายในไม่กี่ชั่วโมงที่ "หาดใหญ่" จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่ไม่สามารถปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ได้ครับ
สำหรับภูมิศาสตร์ของไทย ซึ่งตั้งอยู่บนเส้น "ทรอปปริก-ออฟ-แคนเซอร์" เป็นบริเวณป่าฝนเขตร้อนชื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก ในภาพรวมฝนก็ยังคงตกต้องตามฤดูกาล
และมีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยที่ค่อนข้างจะคงที่ หากนำไปประสานแบบบูรณาการกับแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน ในมุมมองที่กว้างขึ้นภายใต้กรอบของคาถา "เยธัมมาฯ" ที่ว่าด้วยความ "สัมพันธ์อย่างสมดุล" ระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ระบบแบบผสมผสานที่ว่านี้ ก็จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชน
ถนน แม่น้ำลำคลอง หนองบึง อย่างสมดุลมากขึ้นและอาจจะเป็นการแก้ปัญหาอุทกภัยได้อย่างยั่งยืนครับ
|
|
|