 บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น |
|
|
 |
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี" |
|
|
การ “ถอย” ในสภาวะ “วิกฤติ” “ยุทธศิลป์” (Art of War) ของ “เหมาเจ๋อตุง” |
"เคล็ดการรบ 16 คำ" ที่เป็นที่รู้จักกันไปทั่วว่า
"ข้าศึกรุกถอย ข้าศึกพักกวน ข้าศึกเพลียตี ข้าศึกหนีไล่" ทำให้ฐานที่มั่นของ "เหมาเจ๋อตุง" ในเขา "จิ่งกังซาน" มีความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง
อีกทั้งยังสามารถขยายพื้นที่ยึดครองออกไปได้มากจนประสบกับชัยชนะในที่สุด ซึ่ง "เคล็ดการรบ 16 คำ"นี้นับเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของ
"สงครามจรยุทธ์" อีกทั้งยังเป็น "ยุทธศิลป์" (ART OF WAR) ที่เข้าใจง่ายปฏิบัติได้ง่ายและเป็นยุทธ์วิธีที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งมีบทบาทชี้นำอย่างได้ผลแก่กองทัพจีนทั้งหมด
"ถอย" คือ หนึ่งในสุดยอด "ยุทธศิลป์" ของ "เหมาเจ๋อตุง"
ภายใต้สถานการณ์ในภาพรวมที่ตกเป็นรอง อีกทั้งยังตกอยู่ในสภาวะ "วิกฤติ" จำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการทำสงครามแบบเผชิญหน้า
ซึ่งโดยปรกติแล้วเมื่อตกอยู่ในสภาวะ "วิกฤติ" นั้นมีแนวทางในการเลือกปฏิบัติมีอยู่
3 ทาง คือ ทางที่ 1 คือการ "ยอมจำนน" ทางที่ 2 คือการ "เจรจาขอสงบศึก"
และทางที่ 3 คือการ "ถอย" เมื่อเปรียบกันแล้วการ "ยอมจำนน" คือ
"การพ่ายแพ้อย่างที่สุด" การ "เจรจาสงบศึก" คือ "การแพ้แล้วครึ่งหนึ่ง"
แต่การ "ถอย" อาจเปลี่ยนมาเป็น "ชัยชนะ" ได้ โดย "เหมาเจ๋อตุง" ได้ใช้หลักการที่ว่า "รบชนะได้ก็รบ รบชนะไม่ได้ก็ถอย" เพราะในทางปฏิบัติแล้วระยะเวลาในการทำสงครามจะใช้ระยะเวลามากกว่าการรบเสมอครับ ดังนั้น "เหมาเจ๋อตุง" เมื่อไม่แน่ใจในผลการรบที่ออกมาหรือไม่มั่นใจในชัยชนะก็จะทำการ
"ถอย" ซึ่งแท้จริงแล้วการ "ถอย" ทุกครั้งของ "เหมาเจ๋อตุง" ก็ทำไปเพื่อชัยชนะในการรบทั้งสิ้น
ซึ่ง
"ยุทธศิลป์" ของ "เหมาเจ๋อตุง" อันโดดเด่นนั้นมีลักษณะจำเพาะที่น่าสนใจยิ่งอยู่
4 ประการ คือ
- ประการที่ 1 กล่าวถึงลักษณะพิเศษโดยรวมของสงคราม คือ
เมื่อ "ข้าศึกแข็งเราอ่อน" โดยใช้ความด้อยกว่าชนะความเหนือกว่า
- ประการที่
2 กล่าวถึงหลักการขับเคลื่อนด้วยตนเอง ( กัมมันตภาพรังสี )
ภายในเงื่อนไขที่ว่าทำการรบที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม อยู่ใน "กาลเทศะ"
ใดก็รบตาม "กาลเทศะ" นั้น จึงเป็นแนวทางในการรบที่เรียบง่ายและชัดเจนว่า "แกรบของแก
ข้ารบของข้า รบชนะได้ก็รบ รบชนะไม่ได้ก็ถอย" เป็น "การขยายข้อดี
หลีกเลี่ยงข้อด้อย" และ "เหมาเจ๋อตุง" มีแนวความคิดที่ว่าการรบนั้นไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์หรือหลักการที่ตายตัวตามตำรา
เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ยุทธวิธีก็เปลี่ยน ซึ่งทำให้สามารถสร้าง "ยุทธศิลป์"
ที่ทำการการรบทั้งตามรูปแบบมาตรฐานไปควบคู่กับการรบในรูปแบบพลิกแพลงพิสดารเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
- ประการที่ 3 ทำการอนุรักษ์,สืบสานและพัฒนา จารีตของตำรา "ยุทธศิลป์"
อันเป็น "ของดีมีอยู่" แต่โบราณนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อเอาชนะข้าศึก "เหมาเจ๋อตุง"
มีความเห็นว่าควรศึกษาบทเรียนในสงครามที่คนรุ่นก่อนได้ดำเนินไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นต้องศึกษาแนวคิดกลยุทธ์ของนักการทหารที่เป็นที่ยอมรับในอดีต
(โดยเฉพาะ "ซุนวู") ไว้เป็นแบบอย่างและนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการชี้นำการทำสงคราม
- ประการที่ 4 ยึดถือวิธีการใช้คนของนักปราชญ์ในยุคสมัยโบราณโดย "ใช้คนตามคุณธรรม" ตามความสามารถ "ให้อำนาจตามภูมิปัญญา"
ดังนั้น "เหมาเจ๋อตุง" จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นคนที่สันทัดในการใช้คนเป็นอย่างยิ่ง
มาถึงตอนนี้ดูหนัง "ดูละครย้อนกลับมาดูตัว" ในสภาวะ
"วิกฤติ" รอบด้านของสังคมไทยในปัจจุบัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
รวมทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ พอได้ลองศึกษา "ยุทธศิลป์" ของ "เหมาเจ๋อตุง"
ก็อาจจะค้นพบทางออกที่นำมาให้รอดพ้นจากวังวนของ "วิกฤติ" ที่อาจจะง่ายเหมือนเส้นผมบังภูเขา
คือการกลับไปหา "ของดีมีอยู่" ที่เป็น "รากเหง้า" ของเราแท้ ๆ "ถอย"
กลับไปสู่ "ฐานที่มั่น" ของสังคมไทยที่เข้มแข็งที่เราเคยมองข้าม ผมนึกถึงคำพูดของ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในช่วงที่ผมเคยทำงานกับมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งยังก้องอยู่ในหูผมว่า
ให้กล้าที่จะ "ถอย" ซึ่งก็มีแนวคิดคล้ายคลึงกับ "ยุทธศิลป์" ของ "เหมาเจ๋อตุง"
แต่ท่านใช้คำแบบไทย ๆ ว่าให้ "ถอยหลังเข้าคลอง" เพราะหากเราไม่แน่ใจในอนาคตในการก้าวไปข้างหน้าอีกทั้งยังรู้แน่ว่าที่ปากคลองเต็มไปด้วยหินโสโครก
ที่มีกระแสน้ำเชี่ยวกรากจะเป็นผลให้ "รัฐนาวา" ลำนี้ต้องล้มแน่ จึงต้องกล้าที่จะคัดท้ายหันหัวเรือกลับ
"ถอยเข้าคลอง" ในที่ที่แสนจะอุดมสมบูรณ์ น้ำใสไหลเย็นนิ่ง ไม่กลัวที่ใครจะดูถูกว่าไม่ทันสมัย
ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วย "วิกฤติ" เช่นนี้ การ "ถอย" ไปตั้งหลักสักพักก็คงดีเหมือนกันครับ
|
|
|