 บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น |
|
|
 |
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี" |
|
|
นโยบาย “สายรุ้ง” ในการ “ลากตั้ง” ของ “ไทย” |
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้พูดถึงบรรยากาศของการเลือกตั้งของ
"สิงคโปร์" ด้วยความชื่นชมทั้งในด้าน "วิสัยทัศน์" และ "กระบวนทัศน์"
คราวนี้ลองหันกลับมามองการ "ลากตั้ง" ของ "ไทย" ว่าบรรดาพรรคการเมืองต่าง
ๆ มี "วิสัยทัศน์" อย่างไรและมี "กระบวนทัศน์" อย่างไร สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องชี้วัดที่คงไม่มีใครปฏิเสธได้แน่นอนในระบบการเมืองไทย
คือ การที่พรรคการเมืองที่มีขนาดเล็กกลับมีอำนาจล้นฟ้ากว่าพรรคการเมืองใหญ่ เพราะเป็นตัวแปรที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดตั้งรัฐบาลแต่ละครั้ง
จะเห็นได้ว่าบรรดากระทรวงหลัก ๆ ที่มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ เช่น
กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในการกำกับดูแลของพรรคการเมืองที่มีขนาดเล็ก เป็นผลให้พลังในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าจึงอ่อนล้าเพราะขาดเอกภาพ
(นี่ยังไม่นับรวมถึงปัญหาคอรัปชั่นทั้งในระบบและนอกระบบ) ผลออกมาในภาพรวมก็ชัดเจนครับ
นอกจากจะก่อให้เกิดความขัดแย้งและขาดเสถียรภาพทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
(ทั้งในสภาฯและนอกสภาฯ) ดังเช่นปัจจุบันแล้ว หากมองในภาพรวมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
ในขณะที่ "ไทย" มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม 4-5 % ต่อปี เทียบกับ "เวียดนาม"
กำลังมาแรงแซงหน้ามีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 7-8 % ต่อปี คงไม่ต้องพูดถึง
"สิงคโปร์" ที่มีความเป็นเอกภาพและมีเสถียรภาพทั้งในด้านเศรษฐกิจ
การเมืองและสังคมเป็นอย่างยิ่ง เลยส่งผลให้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ
14.5 ซึ่งเติบโตกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับบ้านเรา
ในการ "ลากตั้ง" ที่กำลังจะเกิดขึ้นในครั้งนี้ทุกพรรคล้วนแต่นำเสนอนโยบายเชิง
"สายรุ้ง" ที่ดูสวยงามแต่ไกลเกินเอื้อมจับต้องไม่ได้ นอกจากนั้นยังเป็นนโยบายที่ไม่ยั่งยืนสักพักก็จางหายไป
อีกทั้งยังไม่สามารถตอบโจทย์ในเชิงโครงสร้างว่าในอนาคตอีก 5-10 ปีข้างหน้าประเทศจะก้าวไปอย่างมีเสถียรภาพในทิศทางใดทั้งในด้านเศรษฐกิจ
สังคมและการเมือง ดังจะเห็นได้ว่าบรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้นำเสนอนโยบายทางด้านต่างประเทศน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
เพราะอีกไม่นานก็จะเกิดระบบ "การค้าเสรี" แบบไร้พรมแดนในภูมิภาค "อาเซียน"
ซึ่งจะเป็นสาระสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต สำหรับผมแล้วดูเหมือนว่าพรรคการเมืองต่าง
ๆ จะให้ความสำคัญในประเด็นนี้น้อยมากครับ
นอกจากนั้นนโยบาย "สายรุ้ง" ยังสะท้อนออกมาชัดเจนถึงความสวยงามในความฝันเพราะเป็นนโยบายที่ฟังแล้วโดนใจเชิง
"ประชานิยม" ที่บรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ จากฐานคะแนนเสียงสำคัญกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ
ผู้ใช้แรงงาน และบรรดาลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งกลุ่มนี้ได้มีสัดส่วนเพิ่มปริมาณขึ้นจากคนในภาคเกษตรกรรม
ดังนั้นนโยบาย "สายรุ้ง" นอกจากจะโดนใจผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรแล้ว ยังเป็นการหาเสียงโดยตรงให้กับบรรดาผู้แทนในสัดส่วน
"ปาตีริส" เมื่อสถานการณ์ในการ "ลากตั้ง" เป็นเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นกรรมของประเทศครับเพราะไม่มีพรรคการเมืองใดให้ความสนใจอย่างชัดเจนกับการแก้ไขปัญหาในทางโครงสร้าง
ทำให้ไม่มีนโยบายชัดเจนกับการแก้ปัญหาทางการเมือง
เศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทำให้ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญ ลำดับ 1-2-3 คืออะไร
ผมอยากย้ำนะครับว่าหากสังคมไทยจะก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนเท่าเทียมนานาอารยประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
"สิงคโปร์" ได้ จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนทั้ง "วิสัยทัศน์" และ "กระบวนทัศน์"
ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะทำได้ยากและเป็นไปได้ยากแต่อย่างไรเสียก็ต้องทำครับ
สำหรับผมแล้วปัญหาหลักถูกละเลยมานานที่จำเป็นจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน
คือ "ความไม่เป็นธรรมในสังคม" ที่นำไปสู่ "ความเหลื่อมล้ำ" และนำไปสู่
"การขาดเสถียรภาพ" ในทุกมิติ ซึ่งความไม่เป็นธรรมของผมนี้นอกจากความไม่เป็นธรรมในด้านรายได้และโอกาสที่จะประกอบสัมมาอาชีวะตามกำลังความรู้ความสามารถ
ตลอดจนโอกาสที่จะเข้าถึงทรัพยากรแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงความไม่เป็นธรรมทั้งในด้านสิทธิและเสรีภาพตลอดจนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ซึ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่หมักหมมทางโครงสร้าง ในขณะที่นโยบาย "สายรุ้ง"
เชิง "ประชานิยม" ของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่นำเสนอทำได้เพียงแค่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและผ่อนผันการชำระหนี้
ตลอดจนการปรับลดภาษีนั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างได้ เมื่อปัญหาทางโครงสร้างยังคงอยู่ที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไข
ก็เลยเป็นผลให้พรรคการเมืองขนาดเล็กก็ยังคงมีบทบาทและเป็นตัวแปรที่สำคัญกับการจัดตั้งรัฐบาลต่อไป
แล้วเมื่อการเมืองไทยยังคงตกอยู่ในวงจรอุบาททำให้เกิดสภาวะ "ลากตั้ง" เช่นนี้
ก็ไม่รู้จะ "เลือกตั้ง" ไปทำไมสิ้นเปลืองงบประมาณเปล่า ๆ ครับ
|
|
|