 บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น |
|
|
 |
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี" |
|
|
ระวัง “เงินเฟ้อ”!! ส่งกระทบ “จีดีพี” ไทยและทั่วโลก!!! |
จากการประเมินของ
ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ปรับลดอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยลง
สืบเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและนอกประเทศรุมเร้า ซึ่ง "เอดีบี"ได้ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์
"แผ่นดินไหว" และ "สึนามิ" ที่เกิดขึ้นใน "ญี่ปุ่น" ตลอดจนการจลาจลในกลุ่มประเทศ
"ตะวันออกกลาง" รวมไปถึง "อุทกภัย" ในภาคต่าง ๆ ของ "ไทย" เอาไว้ว่าจะกระทบต่อการขยายตัวของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จึงได้ปรับประมาณการของการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่าจะ
ลดลง 0.4% จากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 4.5% เหลือ 4.1% ขณะที่ยังมีมุมมองในเชิงบวกว่าการเติบโตเศรษฐกิจของภูมิภาค
"เอเชีย" ในภาพรวมในปีนี้ จะขยายตัวในอัตรา 7.8% และยังคาดการไว้ว่าเศรษฐกิจ
"ไทย" ปีนี้และปีหน้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 4.1% เป็น 4.8% ซึ่งจะเป็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
โดย "เอดีบี" มองว่าจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นใน "ญี่ปุ่น"
จะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าและส่งออกชัดเจนจริง ๆ ช่วงไตรมาสที่ 2/2554 จึงเป็นผลให้
"จีดีพี"ชะลอลง ส่วนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมนั้น "เอดีบี"
วิเคราะห์ว่าไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาลก็คงจะยังคงสานต่อนโยบายเศรษฐกิจต่อเนื่องไม่แตกต่างจากของเดิมมากนัก
นอกจากนั้นประเด็นร้อนที่ควรจับตามองเป็นอย่างยิ่งคือสภาวะ
"เงินเฟ้อ"ที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของ "จีดีพี"ของ "ไทย"
รวมไปถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังจะเห็นได้จากการที่ธนาคารกลางยุโรป (อีบีซี)ได้ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ
3 ปี โดยปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.25% เป็นการใช้นโยบายรัดกุมคุมเข้ม "เงินเฟ้อ" ที่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น มีการคาดการณ์กันว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตก็คงจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
"ยุโรป" ในภาพรวม แต่การขึ้นดอกเบี้ยของ "อีบีซี" ในขณะที่ธนาคารกลางของประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่น
ๆ ส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยเดิมไว้จะทำให้ค่าเงิน "ยูโร"แข็งขึ้นจนอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกได้
เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล ได้มีบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจในการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่าเป็นความพยายามที่จะรักษาสมดุลซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากสำหรับ นายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธาน "อีซีบี" ซึ่งดูเหมือนจะเชื่อว่าการใช้นโยบายควบคุม
"เงินเฟ้อ" ที่เข้มงวดอาจจะสามารถช่วยลดผลกระทบอันเกิดจากอัตรา "เงินเฟ้อ"
ที่สูงขึ้น แต่ในอีกด้านของเหรียญประเทศกลุ่ม "ยูโรโซน" อีกหลายประเทศที่สภาพเศรษฐกิจยังมีความอ่อนไหวเป็นอย่างยิ่งต่ออัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในครั้งนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้น "อีซีบี" ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 1% เป็น 1.25% ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษยังมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์เพื่อปกป้องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจต่อไป
(แม้ว่าจะเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงก็ตาม) ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน
อีกทั้งยังอัดฉีดเงินเข้าไปสู่ระบบโดยไม่หวั่นเกรงกับปัญหา "เงินเฟ้อ"
ที่อาจตามมาเป็นมูลค่ามหาศาลถึง 1.17 หมื่นล้านดอลลาร์(สหรัฐ) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของ
"ญี่ปุ่น" หลังประสบภัยพิบัติจากสึนามิ,แผ่นดินไหวและวิกฤตินิวเคลียร์ เช่นเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ
(เฟด) ที่ยังเดินหน้าซื้อสินทรัพย์เพื่อกระตุ้นการเติบโตและคาดว่าจะไม่มีการขึ้นดอกเบี้ยจากระดับเกือบ
0% ไปอีกสักระยะหนึ่ง
แต่หากจะว่ากันไปตามเนื้อผ้าแล้วความเสี่ยงของ "เงินเฟ้อ" ที่สูงขึ้นยังคงมีอยู่ต่อไปแม้ว่าจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยแล้วก็ตาม นอกจากนั้นบรรดานักวิเคราะห์เชื่อว่าน่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงครับ
ในปัจจุบันอัตราเฉลี่ยของ "เงินเฟ้อ" ทั่ว "ยูโรโซน" อยู่ที่ 2.6% เกินกว่าเป้าหมายที่
"อีซีบี" ตั้งไว้ที่ต่ำกว่า 2% และมีการคาดการณ์ว่าอัตรา "เงินเฟ้อ" น่าจะพุ่งขึ้นไปแตะที่ 3% ในช่วงฤดูร้อนของยุโรป สืบเนื่องจากผลพวงของราคาพลังงานและสินค้าอุปโภค-บริโภคที่แพงขึ้น
และมีการคาดว่าหลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ก็น่าจะมีการปรับขึ้นอีกอย่างน้อย
2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับ 2% ช่วงปลายปี ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
"สเปน", "โปรตุเกส", "ไอร์แลนด์", และ "กรีซ" เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีหนี้ของภาคเอกชนจำนวนมหาศาลที่การใช้หนี้มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น
นอกจากนั้นกว่า 90% ของการจำนองใน "สเปน" ผูกติดกับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ถ้าหาก
"อีซีบี" เพิ่มดอกเบี้ย 0.75% ภายในปีนี้ตามที่คาดการณ์ไว้ ก็จะเป็นผลให้การชำระหนี้โดยเฉลี่ยของชาว
"สเปน" เพิ่มขึ้นเกือบ 1,000 ยูโรต่อปี เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างการกู้ยืมและอัตราดอกเบี้ย
"สเปน", "กรีซ", "ไอร์แลนด์" และ "โปรตุเกส" ก็จะได้รับผลกระทบหนักที่สุดในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น
และจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อเศรษฐกิจของโลกในภาพรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อรู้เช่นนี้ก็ต้องเตรียมการรับมือกันไว้ให้ดีโดยไม่ประมาทครับ
|
|
|