สมัครงานกับทีมงานบ้านไม่บาน คลิกอ่านรายลัเอียดด้านใน

โปรดระวังบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว   ชอบช่วย หรือ   ผศ.ดร.ภัทรพล   เวทยสุภรณ์  และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง  ฯลฯ  ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ  ทั้งสิ้น  หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์   02-2451399  หรือ  02-6441478  เท่านั้น
บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น

ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ "ตักศิลา คเณศ์ธร"

  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
ครบรอบ 120 ปี “ศิลป์ พีระศรี”
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี"

หน้าแรก arrow อ่านบทความย้อนหลังที่นี่ arrow เรือนชานบ้านเมือง arrow “วิสัยทัศน์” ของนักการเมือง “สิงคโปร์”
“วิสัยทัศน์” ของนักการเมือง “สิงคโปร์”

            ยิ่งใกล้เลือกตั้งใหญ่ของบ้านเราทำให้ผมได้รับรู้รับทราบถึง "วิสัยทัศน์" ของนักการเมือง "ไทย" ประเภท "หน้าซ้ำ -น้ำเน่า" ที่มีอยู่ดาษดื่นในบ้านเราทำให้ในใจลึก ๆ ของผมก็ยิ่งนึกถึง "วิสัยทัศน์" ของนักการเมือง "สิงคโปร์" ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จอร์ช เอี๋ยว ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอดีตรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ (ที่พึ่งสอบตกจากการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านมาหมาด ๆ) ก็ยิ่งได้เห็นมุมมองที่น่าสนใจของนักการเมือง "สิงคโปร์" หลากหลายประเด็นโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับศาสนาต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงไปเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยภายในชาติของเขา

            รัฐบาล "สิงคโปร์" ให้ความสำคัญกับประชากรในชาติที่ต่างก็นับถือศาสนากันหลากหลายอย่างน้อย 10 ศาสนาทำให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องกำกับดูแลมิให้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งมีบทบาทมากเกินไป (จนเบียดเบียนศาสนาอื่น) โดยไม่ได้ห้ามหรือจำกัดสิทธิในหลักสำคัญของแต่ละศาสนา แต่ที่น่าสนใจคือ ที่นี่ไม่มีการเปิดเครื่องขยายเสียงผ่านลำโพงเรียกใช้ชาวมุสลิมไปสวดมนต์เหมือนประเทศอื่น (แต่ทางการแนะนำว่าให้หันลำโพงเข้าข้างในและให้ชาวมุสลิมสามารถเปิดเครื่องรับวิทยุรับฟังได้) ในขณะที่ชาวมุสลิมก็ได้รับประโยชน์ตามความประสงค์โดยไม่ไปล่วงละเมิดสิทธิของคนที่นับถือศาสนาอื่น แต่ในขณะเดียวกันก็ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาต่าง ๆ เช่น อนุญาตให้ชายชาวมุสลิมมีภรรยาได้ 4 คนตามความเชื่อทางศาสนา แต่ไม่อนุญาตให้นักเรียนหญิงใส่ผ้าคลุมหน้าไปโรงเรียน ในขณะเดียวกันก็ไม่ไปก้าวก่ายในสิทธิของชาวซิกข์ที่โพกศีรษะเนื่องจากเป็นจารีตประเพณีปฏิบัติกันมาตั้งแต่เด็ก แต่เรื่องการคลุมหน้าของนักเรียนหญิงมุสลิมนั้นเพิ่งถูกนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเมื่อไม่นานมานี้

            ที่น่าสนใจ คือ "วิสัยทัศน์" ในการ "สานประโยชน์" ที่เป็นไป "อย่างเท่าเทียมบนความต่าง" ซึ่งนักการเมือง "สิงคโปร์" ท่านนี้อธิบายว่ามี "ความเสมอภาคในความไม่เสมอภาค" ดังนั้นก็อย่าพยายามทำเรื่องที่ไม่เท่าเทียมกันให้เท่ากันเพียงเพื่อที่จะรักษาความเสมอภาค โดยเด็ดขาดเพราะในทางปฏิบัติไม่มีทางเป็นไปได้ อีกทั้งในทางปฏิบัติมีหลายอย่างที่ยากในการที่จะบัญญัติเป็นตัวบทกฎหมายให้ครอบคลุมไปทุกมิติ ดังนั้นกลุ่มศาสนาในแต่ละกลุ่มจำเป็นที่จะต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและไว้วางใจกันในฐานะที่เป็นประชากรอาศัยในประเทศเดียวกันและในฐานะที่เป็นรัฐบาลจำเป็นต้องมีจุดยืนที่แน่นอนโดยไม่เอนเอียงไปข้างหนึ่งข้างใด ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของความเชื่อในแต่ละศาสนาแต่จะต้องลงไปสู่ความรู้สึกด้วย เพราะทุกศาสนามีพื้นฐานความเชื่อและการปฏิบัติไม่เหมือนกัน ดังนั้นการปฏิบัติของรัฐบาลต่อประชากรที่นับถือศาสนาต่าง ๆ ก็ย่อมไม่เหมือนกันเปรียบเสมือน พ่อแม่ที่รักลูกเท่ากันแต่ปฏิบัติต่อลูกแต่ละคนไม่เหมือนกันฉันใดก็ฉันท์นั้น

            ในสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน "สิงคโปร์" ในบางกลุ่มศาสนาก็มีความระแวงกันในเรื่องการใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ทั้งในด้านสถานภาพทางสังคม, ด้านการเมืองและด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนการบังคับทั้งทางตรงหรือทางอ้อมให้ผู้คนเข้ารีตเปลี่ยนศาสนา ซึ่งในประเด็นนี้รัฐบาล "สิงคโปร์" ดูจะก้าวล้ำหน้ากว่าบ้านเราไปมาก หากมีกรณีที่ศาสนาใด พยายามที่จะแทรกแซงศาสนาอื่น รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสามารถสั่งห้ามพฤติกรรมดังกล่าวได้ และหากศาสนานั้นไม่ยอมรับก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมที่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนของศาสนาต่าง ๆ พิจารณาในประเด็นนั้น ๆ ร่วมกัน ดังนั้นในบางครั้งเมื่อรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในบางประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนก็สามารถขอความร่วมมือจากผู้นำทางศาสนาต่าง ๆ ได้ ในทางปฏิบัติจึงกล่าวได้ว่าอิสรภาพในการเผยแพร่ศาสนาต่าง ๆ ใน "สิงคโปร์"นั้นมีเพียง 90 เปอร์เซ็นต์ไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเปรียบกับของ "ไทย" เราให้อิสรภาพเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ ก็เลยมีการล้ำเส้นส่งผลให้ "สังคมไทย" สับสนวุ่นวายกันจนถึงปัจจุบันนี้ครับ

            หลายปีผ่านไปผมได้เห็นความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเจริญเติบโตทางวัตถุและการความก้าวล้ำหน้าทางเทคโนโลยีของ "สิงคโปร์" ที่รุดหน้าไปมาก อย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ "สิงคโปร์" อาจด้อยกว่า "ไทย" ในรากฐานอันยาวนานทางด้าน "วัฒนธรรม" แต่ในด้านความชัดเจนของ "วิสัยทัศน์" ของนักการเมือง "สิงคโปร์" ที่สามารถรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันรวมทั้ง "วิสัยทัศน์" ในการยอมรับความ "แตกต่างแต่ไม่แตกแยก" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างความปรองดองของบรรดาผู้คนในชาติ ซึ่งแน่นอนหมายถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้น "วิสัยทัศน์" ที่น่าทึ่งในการบริหารจัดการให้ประชาชนที่มีพื้นฐานความเชื่อแตกต่างกันสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ ซึ่งในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ บรรดานักการเมืองประเภท "หน้าซ้ำ-น้ำเน่า" ของ "ไทย" คงต้องเรียนรู้จาก "สิงคโปร์" อีกมากครับ

<Previous   Next>