 บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น |
|
|
 |
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี" |
|
|
ฟันธง “เงินเฟ้อ” รุนแรงแน่!! |
อาจจะถึงเวลาที่รัฐบาล "ไทย"
คงต้องเริ่มใช้ "นโยบายการเงินแบบคุมเข้ม" เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหา "เงินเฟ้อ"
กันอย่างจริงจังมากกว่าที่เป็นอยู่ครับ เพราะคงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นแขวนชีวิตเอาไว้กับ
"การส่งออก" เมื่อเกิดอะไรขึ้นในตลาด "การส่งออก" ก็จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่อย่างรุนแรงเสมอ
และคงต้องยอมรับนะครับว่าวิกฤติการณ์ "เงินเฟ้อ" กำลังเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังคุกคามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ดังจะเห็นได้จากธนาคารกลางของหลายประเทศเริ่มมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อ "ป้องปราม"
ปัญหา "เงินเฟ้อ" ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น พร้อมกับการเตรียมมาตรการรองรับมือหากปัจจัยลบทั้งหลายเปิดฉากเกิดพร้อมกัน
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้อาจทำให้บางประเทศเผชิญกับสภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจชลอตัวในขณะที่อัตรา
"เงินเฟ้อ" พุ่งสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากนักวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์หลายคนออกมาดาวน์เกรด
"จีน" หลายครั้งในรอบไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตของ
"จีน" ซึ่งจัดได้ว่าเป็น "ดาวรุ่ง" พุ่งแรงผู้กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลกรายใหญ่ที่สุดจะชลอตัวลง
กลุ่ม
"คลังสมอง" จาก "ปารีส" ก็ได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์อัตรา "เงินเฟ้อ"
สำหรับสมาชิก 34 ชาติเป็น 2.3% จาก 1.5% เมื่อปลายปีที่แล้ว และเพิ่มเป็น
1.7%ในปีหน้าจากตัวเลขที่คาดการณ์เดิมอยู่ที่ 1.4% ในส่วนของ "โออีซีดี" เสนอแนะให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ
(เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยอยู่ที่ 1-1.25% ภายในปลายปีนี้และ 2.25% ในปลายปีหน้า รวมทั้งเรียกร้องให้ธนาคารกลาง "อังกฤษ" ขึ้นดอกเบี้ยเป็น 1% ปลายปีนี้ และ 2.25% ปลายปี 2012 นอกจากนั้นบรรดาธนาคารกลางของหลายประเทศพัฒนาแล้วอื่น
ๆ ก็เริ่มใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินอย่างเช่น "แคนาดา", "สวีเดน" และ "นอร์เวย์"
ก็ได้ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์ทางการเงินได้คาดไว้ ส่วนประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่
อาทิ "จีน" , "อินเดีย" และ "บราซิล" ก็มีแนวโน้มว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับ
"เงินเฟ้อ" ก็เป็นแนวทางเดียวกันกับเมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารกลาง "ยุโรป"
(อีซีบี) ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยจาก 1% เป็น 1.25% และปีหน้ามีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นต้นทุนการกู้ยืมไปอยู่ที่
2.25 % แต่สำหรับในกรณีธนาคารกลาง "ญี่ปุ่น"นั้น ไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าอัตรา
"เงินเฟ้อ" ของ "ญี่ปุ่น" จะเพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ "ญี่ปุ่น"
อย่างชัดเจน ดังนั้นจะเห็นว่าธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ต่างก็มีวิธีจัดการภาวะ "เงินเฟ้อ" ด้วยวิธีการต่างกัน และในขณะที่ "อีซีบี" ลงมืออย่างรวดเร็วแต่ "เฟด"
ของ "อเมริกา" และ "แบงก์ชาติ" ของ "อังกฤษ" กลับรั้งรอ (โดยคงอัตราดอกเบี้ยที่ถือว่าต่ำที่สุดใน
"ยุโรป" ) แต่บรรดานักวิเคราะห์ก็เห็นพ้องกันว่าสองประเทศนี้คงจะยื้อต่อไปได้อีกไม่นานจะต้องขึ้นดอกเบี้ยในระยะเวลาอันสั้นนี้
ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยใน "ยุโรป"
ที่ได้มีการปรับให้สูงขึ้นไปถึงระดับที่สอดคล้องกับความเสี่ยง (ที่เพิ่งเริ่มต้น) ของภาวะ
"เงินเฟ้อ" ที่คาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในอนาคต
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกดูเหมือนว่าจะเริ่มกลับสู่ภาวะปรกติมากขึ้นแต่ยังคงมีโอกาสไม่น้อยที่จะถดถอยอีกครั้ง
นอกจากนั้นถ้าปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เข้ามารุมล้อมพร้อมกันอาจทำให้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมที่กำลังดูเหมือนว่ากำลังฟื้นตัวก็จะทรุดฮวบลงอีก
และอาจนำไปสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งที่ "การขยายตัวของเศรษฐกิจตกต่ำ" และอัตรา
"เงินเฟ้อ" พุ่งแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวหลัก
ๆ ของเศรษฐกิจในภาพรวม คือ ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่แพงขึ้น
อีกทั้งเศรษฐกิจ "จีน" ในภาพรวมจะชะลอตัว รวมทั้งตลาด "อสังหาริมทรัพย์" ประเภทที่อยู่อาศัยก็จะตกต่ำซ้ำซากกันอีกระรอก นอกจากนั้นสถานการณ์การเงินใน "ญี่ปุ่น"และ
"สหรัฐฯ" ยังคงตกอยู่ในสภาวะผันผวน และทั้งสองประเทศนี้จำเป็นต้องปรับสภาวะการณ์คลังให้เข้าสู่สมดุล
รวมทั้งตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของ "จีน" ลดลงจาก
9.7% ที่คาดการณ์ไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว เหลือ 9% สำหรับปีนี้ (เทียบกับที่เคยโตถึง
10.3% ในปี 2010) และมีการคาดการณ์ว่า "จีน" อาจยังจำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก
0.50% เป็นอย่างน้อยเพื่อควบคุม "เงินเฟ้อ" พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า "จีน" อาจจำเป็นที่จะต้องปล่อยให้เงิน "หยวน" แข็งค่าขึ้นตรงกับสภาวะความเป็นจริงอาจจะช่วยลดความกดดันจากสภาวะ
"เงินเฟ้อ" อย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนั้นปฏิกิริยา "ลูกโซ่" สืบเนื่องจากปัญหา "เงินเฟ้อ" ก็อาจจะนำไปสู่ "วิกฤติการณ์ทางการค้า"
ของโลกรอบใหม่ก็กำลังก่อตัวขึ้น
ดังนั้นจะเห็นว่าในปัจจุบันหลายต่อหลายประเทศกำลังเตรียมการณ์รับมือกับสภาวะวิกฤติการณ์
"เงินเฟ้อ" ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น และผมเชื่อว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจของ
"ไทย" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมรับมือกับปัญหา
"เงินเฟ้อ" กันไว้ให้ดีครับ
|
|
|