สมัครงานกับทีมงานบ้านไม่บาน คลิกอ่านรายลัเอียดด้านใน

โปรดระวังบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว   ชอบช่วย หรือ   ผศ.ดร.ภัทรพล   เวทยสุภรณ์  และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง  ฯลฯ  ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ  ทั้งสิ้น  หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์   02-2451399  หรือ  02-6441478  เท่านั้น
บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น

ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ "ตักศิลา คเณศ์ธร"

  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
ครบรอบ 120 ปี “ศิลป์ พีระศรี”
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี"

หน้าแรก arrow อ่านบทความย้อนหลังที่นี่ arrow บ้านไม่บาน Update arrow การฟื้นคืนชีวิตใหม่ “ตึกแถวไม่บาน” อายุ 40 ปี ให้เป็น “บูทิคโฮสเทล”

          สวัสดีครับแฟน ๆ ชาว "บ้านไม่บาน" สำหรับสาระน่ารู้ในสัปดาห์นี้เป็นผลงานของสถาปนิกทีมงานออกแบบ "บ้านไม่บาน" อันเนื่องมาจากมีแฟน ๆ ท่านหนึ่งได้ร้องขอมาที่ผมให้ช่วยออกความเห็นหน่อยว่าควรจะทำดีหรือไม่ทำดี และถ้าตัดสินใจลงมือทำแล้วจะทำอย่างไรให้ดี เนื่องจากมีตึกแถวเก่าอายุกว่า 40 ปี อยู่ย่าน "เอกมัย" เข้าซอยที่ถนนค่อนข้างแคบ ไปราว 300-400 เมตร สภาพแวดล้อมทั่วไปก็ค่อนข้างจะทรุดโทรมสาเหตุเพราะถูกปิดทิ้งร้างไว้หลายปี แต่วันดีคืนดีสภาพแวดล้อมในย่านนั้นก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม จะว่าไปแล้วย่าน "เอกมัย" ที่ตั้งอยู่ใกล้กับย่าน "พระโขนง" ในปัจจุบันก็เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากที่มีการสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้า ผลที่ตามมาคือ เกิดการลงทุนในโครงการคอนโดมิเนียมน้อยใหญ่ต่างผุดขึ้นราวดอกเห็ด ทำให้ในภาพรวมมูลค่า "อสังหาริมทรัพย์" ทั้งที่ดินสิ่งปลูกสร้างทั้งใหม่และเก่าต่างขยับตัวสูงขึ้น และเกิดแนวทางในการพัฒนา "อสังหาฯไม่บาน" ในรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจ คือ การปรับปรุงดัดแปลงตึกแถวเก่าให้เป็นห้องพักแบบรายวันและรายเดือน ประเภท "บูทิคโฮสเทล" ก็ถือได้ว่าเป็น "เทรนด์"ที่กำลังมาแรงแซงโค้ง สำหรับคนยุคใหม่ที่ชอบชีวิตอิสระ มักจะไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร มักจะนิยมเป็นนายตัวเอง ทั้งยังไม่ชอบทำงานหนัก ชอบใช้ชีวิตเรื่อย ๆ เอื่อย ๆ เปื่อย ๆ ไป ตามอารมณ์ (แบบอยากทำก็ทำ อยากพักก็พัก) จะว่าไปแล้วธุรกิจ "บูทิคโฮสเทล" ขนาดเล็กนั้นกำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดัดแปลงอาคารเก่าในทำเลที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า อย่างเช่นย่าน "เอกมัย" เป็นต้นครับ

การฟื้นคืนชีวิตใหม่ “ตึกแถวไม่บาน” อายุ 40 ปี ให้เป็น “บูทิคโฮสเทล”

          สารภาพตามตรงครับว่าความรู้สึกแรกที่ผมได้ไปเยี่ยมเยียนตึกแถวหลังนี้ ก็แทบไม่เชื่อว่าจะสามารถทำการปรับประยุกต์เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งาน ให้เป็น "บูทิคโฮสเทล" ได้ เพราะอยู่ในสภาพทรุดโทรมเป็นอย่างยิ่ง แต่โชคดีที่อยู่ไม่ไกลนักจากสถานีรถไฟฟ้า ในระยะพอเดินถึง จึงเป็นผลให้บริเวณรอบ ๆ เกิด "โฮสเทล" ขึ้นหลายแห่ง จะว่าไปแล้วแฟน ๆ ชาวบ้านไม่บานหลายท่านอาจจะไม่เข้าใจความหมายของ "โฮสเทล" จากความเข้าใจของผม "ราก" ของคำว่า "โฮสเทล" (Hostel) น่าจะมาจาก "House" + "Hotel" คือ การปรับประยุกต์เปลี่ยนแปลงบ้านให้เป็นที่พักราคาประหยัดแบบง่าย ๆ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรมากนัก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเดินทางแบบประหยัด โดยเฉพาะบรรดา "Backpacker" หรือ พวก "แบกเป้เดินทาง" คนกลุ่มนี้ร้อยทั้งร้อยมักจะเดินทางมาพร้อมกับสายการบินราคาประหยัด ประเภท "Low Cost Airline" ที่มีอยู่เกลื่อนกลาดดาษดื่น เปิดให้บริการแข่งขันกันอย่างดุเดือดนับสิบสายการบิน ซึ่งนักเดินทางเหล่านี้มักจะศึกษาหาข้อมูลผ่านโครงข่าย "E-Marketing" โดยมีการจองห้องแบบ "ออนไลน์" ผ่าน "อินเตอร์เน็ต" โดยส่วนใหญ่มักจะผ่าน "Agent" ต่าง ๆ เช่น "Agoda.com", "Booking.com", ฯลฯ ซึ่งทำให้มีความสะดวกสบายและง่ายดายเป็นที่สุดครับ

          ผมเชื่อว่าในอนาคตแนวทางดังกล่าวนี้ก็น่าจะเป็นอีก "หนึ่งทางเลือกอันเป็นทางรอด" ใน "การปรับปรุงฟื้นฟู" อาคารเก่า หรือ "การให้ชีวิตใหม่" ที่ผมมักเรียกว่า กระบวนการ "Revitalization" คือ การนำเอาอาคารเก่าที่ถูกทิ้งร้างนำกลับมาใช้ใหม่ สามารถตอบโจทย์ใหม่ซึ่งก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีไม่น้อยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่เศรษฐกิจกำลังตกสะเก็ดดังเช่นในปัจจุบัน การที่จะลงทุนสร้างขึ้นมาใหม่เลยก็คงไม่ไหว เพราะไหนจะต้องเริ่มต้นหาซื้อที่ดินในทำเลที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านที่การคมนาคมสะดวกสบาย ยิ่งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าเท่าไหร่ ที่ดินก็ยิ่งมีราคาสูงขึ้นเป็นทวีคูณเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันที่ดินตารางวาหนึ่งในย่านดังกล่าวนี้มีราคาสูงถึง ตารางวาละ 1-2 แสนบาทเลยทีเดียว หรือถึงแม้ว่าจะมีเงินที่จะซื้อก็อาจจะหาไม่ได้ หมายความว่าจะหาที่ดินทำเลที่ดี ๆ ได้ไม่ง่ายเลยครับ แล้วไหนจะต้องทำการออกแบบและทำการก่อสร้างอีก ดังนั้นการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อนำมาใช้งานใหม่ดูจะน่าสนใจและเหมาะสมกว่าครับ

การฟื้นคืนชีวิตใหม่ “ตึกแถวไม่บาน” อายุ 40 ปี ให้เป็น “บูทิคโฮสเทล”

          ด้วยเหตุและผลดังกล่าว ผมจึงเสนอให้เจ้าของตึกแถวเก่าอายุกว่า 40 ปี 2 คูหา ย่าน "เอกมัย" ทำการออกแบบปรับปรุงอาคารเก่าเป็นการให้ชีวิตใหม่ โดยการดัดแปลงทำเป็นห้องพักทั้งในรูปแบบรายวันและรายเดือนเพื่อรองรับนักเดินทางที่มีงบประมาณจำกัดประเภท"Backpacker" หรือ "แบกเป้เดินทาง" ซึ่งเป็นกระแสที่กำลังเป็นที่นิยมของนักเดินทางทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิด "AEC" เสรีอาเซียน ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในแทบทุก "มิติ" ครับ เพราะประเทศของเราโดยทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ถือได้ว่าได้เปรียบ เพราะเป็น "ศูนย์กลาง" ("HUB")ของโครงข่ายระบบ "โลจิสติกส์" ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางทางอากาศ,การเดินทางโดยรถยนต์,การเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งการคมนาคมทางน้ำ สำหรับความเห็นของผมในอนาคตการปรับปรุงอาคารเก่าขึ้นมาเพื่อรองรับนักเดินทางในลักษณะนี้ก็จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าทวีคูณ ยิ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าก็ยิ่งเป็นจุดดึงดูดที่สำคัญครับ

          สำหรับสาระน่ารู้ในสัปดาห์นี้ก็น่าจะเป็นข้อคิดดี ๆ สำหรับหลาย ๆ ท่านที่มีตึกแถวที่ตกอยู่ในสภาพทรุดโทรม ถูกทิ้งร้าง จากเดิมเคยเป็นย่านที่เงียบเหงา ซบเซาก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นย่านที่คึกครื้น คึกคัก เพราะการคมนาคมที่สะดวกสบายภายใต้โครงข่ายการขนส่งมวลชนและผมเชื่อว่าการปรับปรุงตึกแถวเก่า 2 คูหานี้คงเป็น "ต้นแบบ" ให้กับอีกหลายอาคารทั้งยังเป็นแนวทางที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับสภาพเศรษฐกิจที่ตกอยู่ในสภาวะฝืดเคืองดังเช่นในปัจจุบัน เพราะใช้งบประมาณในการปรับปรุงไม่มาก มีความเสี่ยงน้อย เพราะอาคารเดิมมีอยู่แล้ว จึงถือว่าเป็นการลงทุนใน "อสังหาฯไม่บาน" ที่มีความ "พอเพียง" อย่างแท้จริงครับ

          สัปดาห์นี้ก็ชื่นชมความงามภายนอกของตึกแถวเก่าอายุกว่า 40 ปีที่ถูกปรับให้เป็น "บูทิคโฮสเทล" ย่าน "เอกมัย" กันไปพลาง ๆ ก่อน ส่วนอาทิตย์หน้ามาดูกันว่าการตกแต่งภายในจะสวยสดงดงามสักเพียงใด ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นกำลังใจให้กับบรรดาเจ้าของตึกแถวเก่าที่ถูกทิ้งเปล่าประโยชน์อีกหลายท่าน ก็ลองนำเอาแนวคิดของผมไป "ต่อยอด"ทำให้ดีกว่าที่ผมได้ลงมือทำไว้ ทั้งยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับบรรดา "SMEs" ประเภท "ผู้ประกอบการขนาดเล็ก" จัดได้ว่าเป็นการ "สตาร์ทอัพ" (Start Up) ที่งดงามและสมบูรณ์แบบทั้งยังมีความ "พอเหมาะ" + "พอดี" + "พอเพียง" เป็นอย่างยิ่งครับ สำหรับสาระน่ารู้ในสัปดาห์นี้คงมีแค่นี้ แล้วพบกันอีกสองสัปดาห์หน้า มาดูกันว่ารูปลักษณ์ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปยังสวยสดงดงามถึงขนาดนี้ รูปลักษณ์ภายในจะสวยงามขนาดไหนก็คงต้องอดใจรอกันอีกสองสัปดาห์ครับ

<Previous   Next>