สมัครงานกับทีมงานบ้านไม่บาน คลิกอ่านรายลัเอียดด้านใน

โปรดระวังบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว   ชอบช่วย หรือ   ผศ.ดร.ภัทรพล   เวทยสุภรณ์  และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง  ฯลฯ  ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ  ทั้งสิ้น  หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์   02-2451399  หรือ  02-6441478  เท่านั้น
บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น

ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ "ตักศิลา คเณศ์ธร"

  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
ครบรอบ 120 ปี “ศิลป์ พีระศรี”
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี"

หน้าแรก arrow อ่านบทความย้อนหลังที่นี่ arrow บ้านไม่บาน Update arrow “ช่างไก่” กับการซ่อม “ฉลองพระบาท” ที่ขาดชำรุด

“ช่างไก่” กับการซ่อม “ฉลองพระบาท” ที่ขาดชำรุด

          "ช่างไก่" หรือ "นายศรไกร แน่นศรีนิล" เป็นคนไทยที่เป็นหนึ่งใน "ไอดอล"ของผม ที่ในปีนี้อายุอานามของแก ก็เข้าใกล้ 70 ปี แล้วครับ แต่ก็ยังดูอ่อนวัย,กระฉับกระเฉงและมีอารมณ์ดีเหมือนคนวัย 50 ปี จะว่าไปแล้วอาชีพช่างซ่อมรองเท้าเก่าที่ชำรุดของ "ช่างไก่" นั้นเป็นอาชีพที่สุดแสนจะธรรมดามาก ๆ ครับ ผมเชื่อว่าเด็กรุ่นใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็คงไม่มีใครอยากเป็นช่างซ่อมรองเท้าที่เก่าชำรุดกันหรอกครับ นอกจากนั้นมิหนำซ้ำ "ช่างไก่" ไม่ใช่ช่างซ่อมรองเท้าตามเคาท์เตอร์ติดแอร์ ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าหรูหราใจกลางเมือง แรกเริ่มเดิมที "ช่างไก่" ที่ผมรู้จักได้เปิดร้านซ่อมรองเท้าเป็นคูหาไม้เล็ก ๆ ชื่อ "ก.เปรมศิลป์" แถวย่าน "พิชัย" ใกล้กับ "วชิราวุธวิทยาลัย" ผมก็ใช้บริการ "ช่างไก่" มายาวนาน เป็นเพราะแกเป็นช่างฝีมือดี อัธยาศัยดีและข้อสำคัญราคาค่าบริการก็ดีสมเหตุสมผลไม่แพงเลยครับ ถึงผมไม่ได้เจอ "ช่างไก่" ตัวเป็น ๆ มานานนับ 10 ปี แต่ก็ได้รับรู้เรื่องราวติดตามข่าวคราว "ช่างไก่" ผ่านสื่อต่าง ๆ ก็เลยทำให้รู้ว่าช่างซ่อมรองเท้าผู้นี้ได้กลายเป็นพสกนิกรที่มีบุญวาสนามากกว่าผมหลายเท่า เพราะตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ได้เป็นผู้ถวายงานซ่อม "ฉลองพระบาท" ของ "พระเจ้าอยู่หัว" ถึง 5 คู่ และได้ตัดรองเท้าคู่ใหม่ (เบอร์ 43) ทูลเกล้าฯ ถวายอีก 15 คู่ รวมทั้งยังได้มีโอกาสซ่อม "ฉลองพระบาท" ของ "สมเด็จพระเทพฯ" อีกด้วย นับว่าได้เกิดมามีบุญวาสนาเหลือล้นครับ

“ช่างไก่” กับการซ่อม “ฉลองพระบาท” ที่ขาดชำรุด

            "ช่างไก่" ได้มีโอกาสถวายงานรับใช้ "พระเจ้าอยู่หัว" เริ่มจากปีพ.ศ. 2545 เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังท่านหนึ่ง ได้นำ "ฉลองพระบาท" ของ "พระองค์" มาให้ซ่อมเป็นคู่แรก โดยสภาพ "ฉลองพระบาท" ที่นำมาซ่อมนั้น ชำรุด หลุดร่อนไปหลายส่วน "ช่างไก่" ได้กล่าวว่า ในตอนนั้นตนรู้สึกประหม่า เกรงจะทำได้ไม่ดี จึงได้ก้มกราบ "ฉลองพระบาท" คิดในใจว่า ถือเป็นโชคดีที่สุดแล้วในชีวิตนี้ โดยสถานะภาพทางสังคมนั้นไม่เคยมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ อย่างใกล้ชิด แต่กลับมีโอกาสได้ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท และได้พยายามซ่อมแซม "รองฉลองพระบาท" คู่นั้นจนเสร็จสมบูรณ์ หลังเป็นข่าว ร้านซ่อมรองเท้าเล็ก ๆ ของ "ช่างไก่" ก็เนืองแน่นไปด้วยบรรดาผู้คนที่มาขอชม "รองพระบาท" คู่ดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังได้รับกลับไปแล้ว ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ที่ตื่นเต้นเพราะข่าวนี้แสดงให้เห็นถึง พระราชจริยวัตรที่แสนจะเรียบง่ายงดงาม ที่ทรงประหยัดแม้กระทั่ง "ฉลองพระบาท" ที่ชำรุดก็ไม่ทรงทิ้งขว้าง แต่โปรดให้ซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่ สมควรที่คนไทยควรยึดเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่งครับ

“ช่างไก่” กับการซ่อม “ฉลองพระบาท” ที่ขาดชำรุด

            สารภาพตามตรงครับว่าหลังจากที่ "พระเจ้าอยู่หัว" เสด็จ "สวรรคต" ผมก็รู้สึกซึมเศร้า เงียบเหงาและอ้างว้างอย่างไงชอบกล เกิดอาการสับสนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตดี ไม่มีสมาธิ จะทำการงานใด ๆ พอคิดอะไรไม่ออก ก็เลยตั้งใจไปกราบ "ฉลองพระบาท" เก่าชำรุดที่ "ช่างไก่" เก็บไว้ในตู้ ใส่พาน ขึ้นหิ้งไว้บูชา ปรากฏว่า "ช่างไก่" ได้ย้ายร้านจากแยก "พิชัย" ไปย่านสะพาน "ซังฮี้" ก็ตามไปจนเจอครับ "ช่างไก่" ก็ยังอารมณ์ดีและมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงดีสมวัย ถึงแม้จะเข้าช่วงปลายของชีวิต นอกจากนั้นผมได้นำเอารองเท้าหลายคู่ของผมที่ชำรุด ไปให้ "ช่างไก่" ซ่อม เหมือนที่ผมเคยทำเมื่อ หลายสิบปีก่อน ก็ได้อุดหนุน "ช่างไก่" ที่ผมถือว่าเป็นพสกนิกรที่โชคดีที่สุดคนหนึ่ง ที่เป็น "ช่างนอกราชสำนัก" ได้มีโอกาสถวายงานแด่พระองค์ท่านและตอกย้ำให้ผมได้เห็นถึงวิถีแห่ง "ความพอเพียง" ของพระองค์ท่าน ที่แสนจะเรียบง่ายเหลือเกิน เชื่อไหมครับว่าคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันหากรองเท้าที่ใส่เกิดชำรุดเสียหายหรือเพียงแค่เป็นรอยนิดหน่อยก็ทิ้งกันแล้วครับ แต่ "พระเจ้าอยู่หัว" ท่านทรงไม่ทิ้ง ทรงโปรดให้นำมาซ่อม เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ก็น่าจะเป็นอีกแบบอย่างหนึ่งของการใช้ชีวิต ที่สิ่งใดควรใช้ก็ใช้ สิ่งใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ไม่ควรใช้ สิ่งใดควรซ่อมก็ซ่อม เป็นการใช้ชีวิตแบบ "พอเหมาะ", "พอดี" และ "พอเพียง" ที่ลงตัวในทุก "มิติ" โดยแท้จริง

         จากการที่ผมได้ไปพบเจอ "ช่างไก่" ที่ห่างเหินกันมานาน ทั้งยังมีโอกาสได้ไปกราบ "ฉลองพระบาท" ที่ "ช่างไก่" ได้ใส่พาน ตั้งอยู่บนหิ้งบูชา ก็สารภาพตามตรงครับว่าคนที่ใจแข็งอย่างผมยังกลั้นน้ำตาลูกผู้ชายเอาไว้ไม่ไหว

         ใจเหม่อลอยออกไปไกล คิดถึงพระองค์ท่านจนสุดขั้วหัวใจเลยครับ

<Previous   Next>