สวัสดีครับแฟน
ๆ ชาว "คนรักบ้าน" สำหรับสาระน่ารู้ในสัปดาห์นี้เป็นเรื่องราวของ
"บ้านไม่บาน" ในระบบ "Floating Foundation" หรือ "ฐานรากลอยน้ำ" ก็เป็น "บ้านไม่บาน" อีกรูปแบบหนึ่งที่ผมภูมิใจนำเสนอเพราะเป็นผลงานที่ผมได้ทำการพัฒนาศึกษาค้นคว้า
วิจัยมายาวนานกว่า 5 ปี และยัง
ได้มีการจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ของคณาจารย์ ภายใต้
"โครงการ สถาปัตย์นิทรรศน์
ครั้งที่ 1" อันประกอบด้วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ซึ่งผมก็ได้นำเสนอผลงาน การศึกษาค้นคว้า,พัฒนา
รูปแบบและทดสอบโดยการสร้างบ้าน "ต้นแบบ" ที่ "ร่วมสมัย" ในระบบ "Floating Foundation" (ในส่วนของฐานรากโดยไม่ใช้ระบบเข็มรับน้ำหนัก) เพื่อการพัฒนาไปสู่บ้าน "ต้นแบบ" ที่ "เรียนรู้
อยู่ร่วม" กับภัยพิบัติ "น้ำท่วม" และ "แผ่นดินไหว" ตามแนวคิดแบบ "พอเพียง" ที่ผมตั้งใจทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัย "บ้านไม่บาน" หลังนี้ขึ้นมาเพื่อคนหมู่มากที่กำลังทุกข์ยากในสังคม ด้วยงบประมาณที่จำกัด 300,000
บาท ++ ต่อหลัง ซึ่งผมได้นำเสนอแนวคิดและวิวัฒนาการที่มีมาอย่างยาวนานในการใช้ระบบ "Floating Foundation" ไม่ว่าจะเป็น
"พระปฐมเจดีย์", "พระปรางค์วัดอรุณฯ" ฯลฯ ซึ่งสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการออกแบบและก่อสร้าง
"บ้านไม่บาน" ที่เป็นบ้าน "ต้นแบบ" ทำให้สามารถรองรับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภัย "น้ำท่วม" หรือ "แผ่นดินไหว" ที่มีโอกาสอย่างสูงที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต

สำหรับในสัปดาห์นี้ผมขอนำเสนอ
การทดสอบ "การลอยน้ำ" ในส่วนของฐานรากระบบ "Floating Foundation" ที่ประกอบขึ้นในระบบ "สำเร็จรูป" หรือระบบ "Prefabrication" รวมถึงภาพ
"Perspective" ที่แสดงให้เห็นถึง การนำเอา "บ้านไม่บาน" ที่เป็นบ้าน "ต้นแบบ" ("Prototype")
ไปจัดวาง "Site Plan" หรือ "ผังบริเวณ" ในลักษณะ "Cluster" แบบ "Cul-de-sac" ก่อเกิดเป็นชุมชนขนาดพอเหมาะ,พอดีและพอเพียง
6-8 Unit

ซึ่งนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ภายใต้
"โครงการ สถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 1" นี้จะจัดแสดงขึ้นตั้งแต่วันที่ 19-26
กรกฎาคม ท่านที่สนใจก็สามารถไปดู "บ้านไม่บาน"
ที่เป็นบ้าน "ต้นแบบ" นี้ได้ในงานนิทรรศการดังกล่าว ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ที่ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แท้จริงแล้วบ้าน "ต้นแบบ" หลังนี้อาจจะมีขนาดเล็กเพียง 3 x 4 เมตร ซึ่งเป็นขนาด
"1 Living Unit" (อันประกอบไปด้วย 1
ห้องรับแขก,1 ห้องนอน, 1 ห้องน้ำและระเบียงหน้าบ้าน) ที่ผมออกแบบขึ้นภายใต้ระบบ "Modular Co-ordination" แต่เป็นขนาดที่สามารถต่อขยายได้ในทุกทิศทุกทางโดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งเปรียบเหมือน "เรือนไทย" โบราณ ซึ่งเป็น
"เรือนขยาย"
สามารถเชื่อมต่อไว้ด้วย "ชานบ้าน" ครับ

สาระน่ารู้ของ
"บ้านไม่บาน" ที่เป็นบ้าน "ต้นแบบ" ที่ "เรียบง่าย" ในระบบ"Floating Foundation" หรือระบบ "ฐานรากลอยน้ำ" นี้ยังมีอีกมากครับ เอาไว้ต่อในตอนหน้า ผมจะนำเสนอถึงการติดตั้งส่วนต่าง
ๆ ของบ้าน "ต้นแบบ" ที่ทำให้ "บ้านไม่บาน" หลังนี้สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว
มีราคาประหยัด และข้อสำคัญ
เมื่อใช้ระบบ "Floating Foundation" แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้เข็มแต่ประการใดทำให้นอกจากประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างลงไปมากพอสมควรแล้วยังมีความแข็งแรงอีกด้วยครับ
สาระน่ารู้ในสัปดาห์นี้คงมีเพียงเท่านี้ท่านที่สนใจศึกษาหาความรู้ย้อนหลังก็สามารถเข้าไปได้ที่ www.homeloverthai.com และ www.chivagroup.com หรือต้องการติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Fan Page https
://www.facebook.com/Dr.chivagroup ครับ
|