สวัสดีครับแฟน ๆ ชาว "คนรักบ้าน" ความเดิมตอนที่แล้วผมได้นำเสนอ "บ้านไม่บาน" ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้า,วิจัย,พัฒนา
รูปแบบและทดสอบโดยการสร้างบ้าน "ต้นแบบ" ที่ "ร่วมสมัย" ในระบบ "Floating Foundation" หรือ ฐานราก "ลอยน้ำ" (ในส่วนของฐานรากโดยไม่ใช้ระบบเข็มรับน้ำหนัก) เพื่อการพัฒนาไปสู่บ้าน "ต้นแบบ" ที่ "เรียนรู้
อยู่ร่วม" กับภัยพิบัติ "น้ำท่วม" และ "แผ่นดินไหว" ตามแนวคิดแบบ "พอเพียง" ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากท่านผู้อ่านเป็นอย่างดี เพราะสามารถตอบโจทย์บ้านที่กำลังเผชิญกับปัญหา
"น้ำท่วม"และปัญหา "แผ่นดินไหว"
ซึ่ง "บ้านไม่บาน" ที่เป็นบ้าน
"ต้นแบบ" หลังนี้เป็นความพยายามครั้งสำคัญของผมที่จะออกแบบ "บ้านไม่บาน" ที่สามารถเรียนรู้อยู่ร่วมกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพราะในส่วนตัวผมนั้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีอยู่อย่างยาวนาน จะว่าไปตามความเป็นจริงแล้วไม่มีใครสามารถเอาชนะธรรมชาติได้หรอกครับ นอกเสียจากเราจะเรียนรู้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างผสมผสานและกลมกลืนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกอันเป็นทางรอดครับ

การศึกษาค้นคว้าและวิจัยของผมทำให้ผมทราบว่าระบบฐานรากแบบ"Floating Foundation" หรือ ฐานราก
"ลอยน้ำ" นั้น ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลายและใช้กันมาอย่างยาวนาน หลักฐานที่เห็นได้ชัดเจน คือ "พระปฐมเจดีย์" ที่มีอายุนับพันปี ย้อนกลับไป
"สมัยทวารวดี" นั่นแหละครับ จึงเชื่อว่าเป็นเจดีย์รุ่นแรก ๆ ใน "ผืนดินธรรมผืนดินทอง" ที่มักเรียกว่า "สุวรรณภูมิ" จึงได้ชื่อว่า "พระปฐมเจดีย์"
ที่ได้สร้างขึ้น ที่จังหวัด "นครปฐม" ก็ได้ใช้ระบบฐานรากแบบ "Floating Foundation" และก็ยืนยงคงอยู่มาตราบจนทุกวันนี้และที่คุ้น
ๆ ตากัน คือ "พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร" หรือ "วัดแจ้ง"
ที่มีอายุกว่า 200
ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความสูงเทียบเท่าตึกกว่า 20
ชั้น มีน้ำหนักหลายพันตัน ก็ไม่ได้ตอกเข็มแต่ประการใดครับ เพราะได้ใช้ฐานรากในระบบ "Floating Foundation" จะว่าไปแล้วอาคารบ้านเรือนทั้งวัด ทั้งวัง ในสมัยธนบุรีและในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หลังจากที่เสีย "กรุงศรีอยุธยา" ในพ.ศ.
2310 พม่าก็ได้เผาผลาญ "กรุงศรีอยุธยา"
ไปจนหมดสิ้น "ล้นเกล้ารัชกาลที่ 1"
ที่ได้สืบทอดพระราชอำนาจจาก "พระเจ้ากรุงธนบุรี" ก็ได้เริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาใหม่ ในสมัยนั้นยังไม่มีใครใช้เข็มในการทำฐานรากอาคารบ้านเรือนกันหรอกครับ การใช้ฐานรากก็ใช้ระบบ "ลอยน้ำ" แบบ "Floating Foundation" แม้ "พระที่นั่งอนันตสมาคม"
ที่สร้างขึ้นในสมัย "ล้นเกล้ารัชกาลที่
5" ก็ไม่ได้ใช้เข็มครับ ก็ใช้ฐานรากระบบ "ลอยน้ำ" หรือ "Floating Foundation" เช่นกัน แต่ไป
ๆ มา ๆ ฐานรากในระบบนี้อยู่ดี ๆ มายาวนานกว่าพันปีก็เลิกใช้
ถูกทดแทนด้วยการ "ตอกเข็ม"
ซึ่งโดยปกติอาคารบ้านเรือนในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางโดยเฉพาะใน "กรุงเทพฯ" และ "ปริมณฑล"
จะต้อง "ตอกเข็ม" ลึกลงไปจากผิวดินตั้งแต่ 18
เมตร ถึง 23 เมตร
กระทั่งถึงชั้นดินปนทรายจึงจะสามารถรับน้ำหนักได้ แต่ระบบการรับน้ำหนักฐานรากโดยใช้เข็มก็มีจุดอ่อนนะครับ เพราะจะรับแรงในแนวนอนไม่ได้ รับได้เฉพาะแนวดิ่งเท่านั้น
ดังนั้นเวลาเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยพิบัติทางแผ่นดินไหว ระบบเข็มจะไม่สามารถต้านทานแรงกระทำในแนวนอนได้ ดังนั้นหากในอนาคตเกิดแผ่นดินไหวขึ้น เชื่อแน่ว่าบรรดาอาคารบ้านเรือนที่ใช้ระบบฐานรากแบบ
"เข็ม" รับน้ำหนักกว่าครึ่งก็จะพังลงมาครับ

การศึกษา, ค้นคว้า, วิจัยและพัฒนาฐานรากในระบบ "Floating Foundation" หรือ
ระบบฐานราก "ลอยน้ำ" ที่ผมได้ทำการทดลองมากว่า 5
ปีนั้น แท้จริงแล้วก็ไม่มีอะไรใหม่หรอกครับ เป็นองค์ความรู้ที่มีมาแต่โบราณอันเป็น "ของดี
มีอยู่" มายาวนาน เป็นภูมิปัญญาที่บรรดา
"ครูช่าง" ได้เรียนรู้และนำมาปรับประยุกต์ใช้ จะว่าไปแล้วผมเป็นแค่เพียงผู้ "อนุรักษ์สืบสาน
และพัฒนา"ระบบ "Floating Foundation" โดยนำมาใช้กับอาคารบ้านเรือนขนาดเล็กครับ

สำหรับสาระน่ารู้ในสัปดาห์นี้ผมขอนำเสนอการออกแบบและการจัดกลุ่ม "บ้านไม่บาน" ที่เป็นบ้าน "ต้นแบบ" ในลักษณะ "ไทยประยุกต์" ซึ่งเป็นบ้าน "ต้นแบบ" ขนาด 3 x
4 เมตร ซึ่งผมออกแบบให้เป็น "1 Living Unit" ที่เป็น "Modular Co-ordination" อันประกอบไปด้วย 1
ห้องนอน,1 ห้องน้ำ, 1 ห้องนั่งเล่น พร้อมระเบียงนั่งเล่น สำหรับสาระน่ารู้ในครั้งหน้าห้ามพลาดโดยเด็ดขาด ผมจะนำเสนอกระบวนการประกอบติดตั้ง "บ้านไม่บาน" ที่เป็นบ้าน "ต้นแบบ"
ที่ร่วมสมัยในระบบ
"Floating
Foundation" หรือฐานราก "ลอยน้ำ" ที่สามารถประกอบติดตั้งได้อย่างรวดเร็วและประหยัด รวมทั้งสามารถขนส่งไปในที่ต่าง ๆ
ได้อย่างสะดวกครับ
สำหรับสาระน่ารู้ในสัปดาห์นี้ก็คงมีแค่นี้ พบกับสาระน่ารู้กันได้ใหม่ในสองสัปดาห์หน้าครับ
ท่านที่สนใจรายละเอียดย้อนหลังก็สามารถติดตามได้ใน www.homeloverthai.com และ www.chivagroup.com หรือต้องการติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Fan Page https
://www.facebook.com/อ-เชี่ยว-ชอบช่วย ครับ
|