สมัครงานกับทีมงานบ้านไม่บาน คลิกอ่านรายลัเอียดด้านใน

โปรดระวังบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว   ชอบช่วย หรือ   ผศ.ดร.ภัทรพล   เวทยสุภรณ์  และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง  ฯลฯ  ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ  ทั้งสิ้น  หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์   02-2451399  หรือ  02-6441478  เท่านั้น
บุคคลที่ไม่ประสงค์ดีแอบอ้างใช้ชื่ออาจารย์เชี่ยว ชอบช่วย หรือ ผศ.ดร.ภัทรพล เวทยสุภรณ์ และสำนักงานบ้านไม่บานไปใช้ในการหลอกลวงให้หลงเชื่อในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์,การออกแบบ,การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งทางสำนักงานบ้านไม่บานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้น หากท่านต้องการติดต่อกับทางสำนักงานต้องติดต่อโดยตรงที่เบอร์ 02-2451399 หรือ 02-6441478 เท่านั้น

ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ "ตักศิลา คเณศ์ธร"

  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
  • ศูนย์รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ “ตักศิลา คเณศ์ธร”
ครบรอบ 120 ปี “ศิลป์ พีระศรี”
ครบรอบ 120 ปี "ศิลป์ พีระศรี"

หน้าแรก arrow อ่านบทความย้อนหลังที่นี่ arrow บ้านไม่บาน Update arrow พระอัจฉริยภาพของ “พ่อ” ที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม (3)
พระอัจฉริยภาพของ “พ่อ” ที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม (3)

          สวัสดีครับแฟน ๆ ชาวคนรักบ้าน ในสัปดาห์นี้ ก็ถือ ได้ว่าเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกันแล้วนะครับ  ที่ผมได้นำเสนอพระอัจฉริยภาพของ "พ่อ" ที่เกี่ยวกับงานศิลปกรรมและการออกแบบหรืออาจจะเรียกรวม ๆ ว่า "งานช่าง"  จริง ๆ แล้วเป็นความตั้งใจของผมที่จะมีส่วนร่วม เฉลิมฉลองในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนแห่งพระสูติกาลของพระองค์    รวมทั้งเป็นการเทิดพระเกียรติให้กับ "พ่อ" ซึ่งทรงเป็นเอกอัครมหาศิลปินที่ทรงมีพระอัจฉริยภาพในศิลปกรรมในแขนงต่าง ๆ รวมไปถึงการออกแบบที่หลากหลาย เจียระไนกันไม่หมด  ดังนั้นผมจึงขอคัดมาเฉพาะงานที่พระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบทางสถาปัตยกรรม   เพื่อนำมาเสนอให้กับบรรดาแฟน ๆ ชาวคนรักบ้านทั้งประเทศให้รับรู้ รับทราบกันครับ

พระอัจฉริยภาพของ “พ่อ” ที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม (3)

          สำหรับสาระสำคัญในสัปดาห์นี้ผมขอนำเสนองานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นอีกชิ้นหนึ่งที่พระองค์ทรงมีส่วนร่วมนอกเหนือจาก   พระมหาธาตุเจดีย์เฉลิมราชศรัทธาที่วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา สาธารณรัฐอินเดีย  และพระอุโบสถวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก  กรุงเทพมหานคร    ผมขอนำเสนอ พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร  ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมาแทนหลังเดิม  เพื่อให้สมเกียรติแด่หลวงพ่อพุทธโสธรที่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศให้ความเคารพสักการะ   อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้ทำการปรับปรุงอาคารหน้าพระอุโบสถ    รวมทั้งให้ปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณวัด  จากนั้นคณะกรรมการฯ ของทางวัด จึงได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามแนวพระราชดำริ โดยมอบหมายให้ ดร.ประเวศน์  ลิมปรังษี  ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์  สถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี   เป็นสถาปนิกผู้ถวายงานโดยได้ร่างแบบพระอุโบสถหลังใหม่  จากนั้นได้ส่งให้สำนักราชเลขาธิการเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายและรับพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย

พระอัจฉริยภาพของ “พ่อ” ที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม (3)

          โดยมีลักษณะของพระอุโบสถหลังใหม่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมทรงไทยประยุกต์ หลังคาประกอบเครื่องยอด ชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทยต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง    ส่วนด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงอย่างเดียวกันกับพระวิหาร เป็นอาคารมุขเด็จเมื่อประกอบกันเข้าแล้วเกิดเป็นอาคารที่มีรูปทรงหลังคาแบบจตุรมุขอย่างอาคารทรงปราสาท

          สำหรับแนวทางในการออกแบบพระอุโบสถ ฯ ได้เน้นการประยุกต์รูปแบบขึ้นมาใหม่ที่ไม่อิงตามแบบแผนของการแบ่งเขตพระอัจฉริยภาพของ “พ่อ” ที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม (3)พุทธาวาสทั่วไปตามที่เคยปฏิบัติมา     แต่เป็นการรวมพระอุโบสถเข้ากับพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ  ในอาคารเดียวกัน    ซึ่งในความเห็นในเชิงวิชาการทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์จัดได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมแนวใหม่  ไม่เคยมีการรวมพื้นที่ใช้สอยในลักษณะนี้มาก่อน    เป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในยุครัชกาลที่ 9 และมีคุณสมบัติถูกต้องตามแนวพระราชดำริ คือ ให้เป็นอาคารที่สมเกียรติกับหลวงพ่อพุทธโสธรที่จัดได้ว่าเป็นพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่คู่บ้าน คู่เมือง ของประเทศและต้องตามพระบรมราชวินิจฉัย  มีความสง่างาม      มีคุณค่าทางศิลปกรรมเหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถานสำคัญ     ซึ่งในแต่ละปีมีพุทธศาสนิกชนนับล้านแวะเวียนมากราบไหว้เป็นถาวรวัตถุคู่บ้าน คู่เมือง และยังเป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันและจะทวีคุณค่ายิ่งในอนาคต 

          สาระน่ารู้ที่เกี่ยวกับพระเจ้าอยู่หัวกับงานศิลปกรรมและการออกแบบยังมีอีกมากครับ    และผมคงต้องใช้ระยะเวลาอีกยาวนานในการศึกษางานของพระองค์ท่าน  เพราะยิ่งค้นคว้า ก็ยิ่งค้นพบ สร้างความประทับใจและภาคภูมิใจในพระอัจฉริยภาพของพระองค์  อีกทั้งประทับใจในพระอุตสาหะวิริยะที่ทรง "ครองแผ่นดินโดยธรรม" ปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างหนักและต่อเนื่องมิได้เพื่อพระองค์เองแต่ "เพื่อประโยชน์สุข แก่มหาชน ชาวสยาม" โดยไม่เคยมีวันหยุด  แม้แต่ในช่วงเวลาที่ทรงประชวร

          ตลอดระยะเวลา 60 ปี แห่งการครองสิริราชสมบัติที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ มากมาย ก่อให้เกิดประโยชน์อันกว้างใหญ่ ไพศาลต่อประเทศชาติและต่อพสกนิกรของพระองค์ท่าน ดังนั้นจึงเปรียบได้กับ "พ่อ" ที่ดูแลสารทุกข์ สุขดิบ ให้กับบรรดาลูก ๆ และยังทรงเป็น "ศูนย์รวมจิตใจ" และเป็น "หลักชัย" ให้กับลูก ๆ ยามที่รู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้  สับสน หรือ หลงทาง นับได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของลูกทุกคนที่ต้องทดแทนพระคุณของ "พ่อ" โดยการเร่งทำความดี ขอเพียงลงมือทำในวันนี้ (ไม่ใช่จะทำวันพรุ่งนี้) เพียงคนละอย่าง คนละหนึ่งความดี ลูกหกสิบล้านคนก็หกสิบล้านความดีครับ

พระอัจฉริยภาพของ “พ่อ” ที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม (3)
 
  

          จะเห็นได้ว่าผลงานในด้านศิลปกรรมและการออกแบบที่ผมขอรวมเรียกว่า "งานช่าง"  ของ "พ่อ" นั้น  นับเป็นอีกหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่สะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการริเริ่มสร้างสรรค์  ที่ผมคัดสรรมาถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อยนิดเลือกมาเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม  นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นการเทิด     พระเกียติของ "พ่อ" และพระอัจฉริยภาพของ "พ่อ" และผมหวังว่าเมื่อชาวคนรักบ้านได้รับรู้ รับทราบ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้  ก็ต้องเริ่มทำความดีกันตั้งแต่วันนี้ก็เพื่อให้ "พ่อ" ไม่ต้องมาลำบากตามแก้ปัญหาที่บรรดาลูก ๆ ที่ไม่อยู่ในศีล ในธรรม ขาดเสีย ซึ่งจริยธรรมสร้างขึ้นมาให้กับสังคมครับ 

          ฝากย้ำกันก่อนจะจากกันในสัปดาห์นี้อย่าลืมไปเลือกตั้งวันพรุ่งนี้นะครับ  ไปร่วมกันสร้างสรรค์บรรยากาศแห่งความเป็นประชาธิปไตย   ตามสิทธิและหน้าที่ทางจริยธรรมที่พึงกระทำ รวมทั้งการ ลด ละ เลิก การกระทำสิ่งไม่ดี ไม่ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ขอให้บรรดาคนรักบ้านคัดเลือกเอาแต่ คนดี มีศีลธรรม เข้าสภามาบริหารประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือน "บ้าน" ของพ่อ   เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ "พ่อ" รวมทั้งรู้รักษ์สามัคคี ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน

          ถ้ารัก "พ่อ" ก็อย่าให้ "พ่อ" ต้องหนักและเหนื่อยไปมากกว่านี้อีกเลยครับ ให้ "พ่อ"ได้พักบ้างเถิด เพราะทรงงานหนักและเหนื่อยมาเพื่อพวกเรามากเกินไปแล้วครับ

พระอัจฉริยภาพของ “พ่อ” ที่เกี่ยวเนื่องกับงานสถาปัตยกรรม (3)
<Previous   Next>